เมนู

อนาคตญาณกถา


[1069] สกวาที ความรู้ในอนาคต คือ สภาวะที่ยังไม่มาถึง
มีอยู่ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. อนาคตรู้ได้โดยมูล รู้ได้โดยเหตุ รู้ได้โดย
นิทาน คือเหตุเป็นแดนมอบให้ซึ่งผล รู้ได้โดยสมภพ คือเหตุเป็นแดน
เกิด รู้ได้โดยประภพ คือเหตุเป็นแดนเกิดก่อน รู้ได้โดยสมุฏฐาน
รู้ได้โดยอาหาร คือเหตุนำมาซึ่งผล รู้ได้โดยอารมณ์ คือเหตุเป็นที่ยึด
หน่วง รู้ได้โดยปัจจัย คือเหตุเป็นที่อาศัยเป็นไป รู้ได้โดยสมุทัย
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[1070] ส. ความรู้ในอนาคตมีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. รู้ความเป็นเหตุปัจจัยที่เป็นอนาคตได้ รู้ความ
เป็นอารัมณปัจจัยที่เป็นอนาคตได้ รู้ความเป็นอธิปติปัจจัยที่เป็นอนาคต
ได้ รู้ความเป็นอนันตรปัจจัยที่เป็นอนาคตได้ รู้ความเป็นสมันตรปัจจัย
ที่เป็นอนาคตได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[1071] ส. ความรู้ในอนาคตมีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. โคตรภูบุคคล มีความรู้ในโสดาปัตติมรรค
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล มี
ความรู้ในโสดาปัตติผล หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ฯ ล ฯ
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ฯ ล ฯ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล มีความ
รู้ในอรหัตตผล หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[1072] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความรู้ในอนาคตมีอยู่ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์
อันตราย 3 อย่าง จักเกิดแก่เมืองปาฏลีบุตร คือ จากไฟ หรือ
จากนี้ หรือจากการแตกความสามัคคี1
ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง
มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น ความรู้ในอนาคตก็มีอยู่ น่ะสิ
อนาคตญาณกถา จบ
1. วิ. มหา 5/71.

อรรถกถาอนาคตญาณกถา


ว่าด้วยความรู้ในอนาคต


บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องความรู้ในอนาคต. ในปัญหานั้น ขณะอัน
เป็นอันตระก็ดี หมายเอาขณะจิต เป็นอนันตระก็ดี ชื่อว่า อนาคต.
ในขณะทั้ง 2 เหล่านั้น ญาณย่อมรู้อนาคตที่เป็นอนันตระมีอยู่อย่าง
เดียวเท่านั้น อนึ่งญาณอนาคตที่เป็นอนันตระมีอยู่โยประการใด แม้
ญาณที่หยั่งลงในชวนะหนึ่งของวิถีหนึ่งก็มีอยู่โดยประการนั้น. ในปัญหา
นั้น ชนเหล่าใด ย่อมปรารถนาญาณในอนาคตแม้ทั้งปวง ดุจลัทธิของ
นิกายอันธกะทั้งหลาย คำถามของสกวาทีหมายชนเหล่านั้น คำตอบ
รับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วงด้วยคำว่า ญาณ
ในอนาคตอันไม่มีอยู่ตามลัทธิของท่าน. บุคคลย่อมรู้อนาคตที่เกิดใน
ภายหลังแต่นั้นได้ด้วยสามารถแห่งมูลเป็นต้นหรือดังนี้จึงกล่าวกะปรวาที
นั้นว่า อนาคตรู้ได้โดยมูล เป็นต้น. บรรดาคำเหล่านั้น คำทั้ง
ปวงว่า โดยมูล เป็นต้น คือ โดยมูล โดยเหตุ โดยนิทาน
โดยสมภพ โดยประภพ โดยสมุฏฐาน โดยอาหาร โดยอารมณ์ โดย
ปัจจัย และโดยสมุทัย นี้เป็นคำไวพจน์ของคำว่า การณะ คือ การณะ
แปลว่า เครื่องกระทำ หรือ เหตุ ทั้งสิ้น. จริงอยู่ การณะ ชื่อว่า
มูล เพราะอรรถว่า ย่อมทำธรรมใดให้เป็นผลของตน ธรรมที่เป็น
ผลนั้นในที่นั้นจึงอาศัยตั้งอยู่ได้. ชื่อว่า เหตุ เพราะอรรถว่า ให้ผล
ธรรมนั้นเจริญและเป็นไปทั่ว. ชื่อว่า นิทาน เพราะอรรถว่า เป็นแดน
มอบให้ซึ่งผลธรรมนั้น ๆ นั่นแหละ ราวกะการมอบให้อยู่ด้วยคำว่า